การงานอาชีพ ม.4 หน่วยที่1 การทำงานเพื่อการดำรงชีวิต

หมวดหมู่: การงานอาชีพ
คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

หน่วยการเรียนรู้ที่1
การทำงานเพื่อการดำรงชีวิต
 
ความหมายและความสำคัญของการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต
“การทำงานเพื่อการดำรงชีวิตเป็นการทำงานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัวและสังคม โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การได้ลงมือปฏิบัติงานจริงจนเกิดความมั่นใจและเกิดความภาคภูมีโลในผลงานของตนเอง ทำให้เกิดการค้นพบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง”

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต

เนื้อหาของคอร์ส

ความหมายของการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต (copy)
การทำงานเพื่อการดำรงชีวิตเป็นการทำงานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัวและสังคม โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การได้ลงมือปฏิบัติงานจริงจนเกิดความมั่นใจและเกิดความภาคภูมีโลในผลงานของตนเอง ทำให้เกิดการค้นพบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง

  • ความหมายของการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต

ความสำคัญของการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต
1. ช่วยสร้างประสบการณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การทำความสะอาดเสื้อผ้า การทำความสะอาดบ้าน การทำความสะอาด ห้อง การทำอาหาร การซ่อมแชมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ 2. เกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองและเป็นการฝึกตนเองให้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 3. ช่วยพัฒนาให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ ผู้ที่ทำงานบ่อย ๆ จะเกิดความคิดสร้างสรรค์มากกว่าผู้ที่ไม่เคยทำงานอะไรเลย 4. ทำให้ค้นพบความสามารถและความถนัดของตนเอง รู้ว่าตัวเองชอบอะไรและถนัดอะไร ซึ่งจะช่วยให้สามารถวางแผนการเลือกประกอบอาชีพในอนาคตได้ 5. ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น การประดิษฐ์สิ่งของแล้วจำหน่าย หรือรับจ้างผลิตสิ่งของต่าง ๆ

ทักษะการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต
การทำงานเพื่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานบ้านเพื่อการประกอบอาชีพนั้น ต้องใช้ทักษะการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและทักษะในการจัดการงานอย่างมีระบบ เพื่อให้งานนั้นประสบความสำเร็จ การเรียนรู้ทักษะการทำงานหรือทักษะการจัดการงานจะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง

ทักษะการทำงานเพื่อชีวิต
1) การมอบหมายงาน จะต้องบอกรายละเอียดของงานที่จะต้องทำอย่างชัดเจนบอกปริมาณงานที่ต้องการ แจ้งคุณภาพของงาน ที่ต้องการ กำหนดเวลาเสร็จ และมีการติดตามงาน 2) การให้คำแนะนำ ทั้งในด้านวิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์รายละเอียดของการทำงาน วัตถุดิบที่ใช้ในงาน แหล่งที่มาของ วัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ในงาน รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในงาน 3) การติดตามผลงาน โดยการเปรียบเทียบผลงานที่ได้กับแผน และเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นจริง กับสิ่งที่ควรจะเป็น 4) การให้คำชมเชย คำชมเชยจะมีประสิทธิภาพถ้าใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และต้อง ตั้งอยู่บนความเป็นจริง 5) การแก้ปัญหาที่ดี จะต้องทำอย่างเป็นระบบ และต้องหาวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้มากที่สุด 5) การแก้ปัญหาที่ดี จะต้องทำอย่างเป็นระบบ และต้องหาวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้มากที่สุด 6) การชี้แนะตักเตือน เมื่อพบเห็นการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ต้องใช้การเผชิญหน้าและการสื่อสาร 2 ทาง พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ชี้แนะ และตักเตือน 7) การให้ความช่วยเหลือ โดยให้ความร่วมมือในเรื่องต่าง ๆ แสดงความใส่ใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและสนทนาเรื่องส่วนตัวกันบ้าง 8) การรายงานผล จะต้องมีความตรงต่อเวลา และรายงานอย่างตรงไปตรงมาการจัดการงานที่ดีตามวิธีดังกล่าวข้างต้น จะทำให้ได้ผลงานที่ดี มีคุณภาพ และเสร็จทันตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้

สรุป

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว